เพลงนี้ช่วยส่งเสริมสุขภาพได้หรือไม่
การโค้ช
แนวเพลงที่มีความเฉพาะตัวสูงและกำลังมาแรงอย่างดนตรีบำบัดนี้ (จริงๆ แล้ว) อาจเป็นทางออกสำหรับคุณเพื่อให้รู้สึกดีขึ้นจากภายในสู่ภายนอก
เราทุกคนต่างรู้ว่า Mozart และ Beethoven คืออัจฉริยะ แต่จะมีใครรู้บ้างว่าในปัจจุบัน ผลงานชิ้นเอกที่มีอายุนานนับศตวรรษของทั้งสองได้กลายมาเป็นส่วนหนึ่งของเทรนด์ที่กำลังเติบโตอย่างรวดเร็วที่เรียกว่าเพลงเพื่อสุขภาพ
คำจำกัดความที่ง่ายที่สุดสำหรับ “เพลงเพื่อสุขภาพ” หรือที่รู้จักกันในชื่อเพลงบำบัดในโลกการวิจัย ได้ถูกแบ่งประเภทว่าคือเพลงใดๆ ก็ตามที่ช่วยให้คุณรู้สึกดีขึ้นเพียงแค่ได้ฟัง Lyz Cooper ผู้ก่อตั้ง British Academy of Sound Therapy กล่าว แต่ถ้าจะอธิบายให้ซับซ้อนที่สุดก็จะหมายถึงเพลงเพื่อสุขภาพที่มีองค์ประกอบซึ่ง Cooper เรียกว่า “วิตามินทางเสียง” เพราะเพลงประเภทนี้มอบ “สารอาหาร” ให้แก่สมองและร่างกาย
“วิตามินทางเสียงคือคุณลักษณะเล็กๆ เหล่านี้ที่ก่อตัวออกมาเป็นเสียงดนตรี เช่น เสียงต่ำและจังหวะช้าที่ส่งผลกระทบต่อระบบประสาทอย่างเฉพาะเจาะจง” เธอกล่าว ผลกระทบเหล่านี้สามารถทำให้คุณรู้สึกสงบขึ้นและพึงพอใจยิ่งขึ้น ซึ่งเมื่อเวลาผ่านไปจะส่งผลดีทางสรีรวิทยา (จะกล่าวถึงในช่วงต่อไป)
“วิตามินทางเสียงคือคุณลักษณะเล็กๆ เหล่านี้ที่ก่อตัวออกมาเป็นเสียงดนตรี เช่น เสียงต่ำและจังหวะช้าที่ส่งผลกระทบต่อระบบประสาทอย่างเฉพาะเจาะจง”
Lyz Cooper
ผู้ก่อตั้ง British Academy of Sound Therapy
Cooper และองค์กรคาดการณ์เทรนด์หลักๆ ได้คาดการณ์ว่าเพลงบำบัดกำลังจะอยู่ในจุดที่ “ฮิตติดลมบน” แอปสตรีมเพลงและทำสมาธิต่างๆ ได้นำเพลงประเภทนี้มากมายเข้ามาอยู่ในแอป หรือมีแผนที่จะนำมาลงในอนาคต และมีรายงานว่าแพลตฟอร์มเทคโนโลยีใหม่ๆ ได้เปิดตัวบริการที่ส่งมอบเสียงเพลงบำบัดที่ปรับให้เหมาะกับแต่ละบุคคลโดยใช้ปัญญาประดิษฐ์ และในอนาคต หลังจากที่เทรนด์นี้อยู่ในโลกเป็นระยะเวลาหนึ่งแล้ว ก็อาจจะกลายเป็นวิธีการผ่อนคลายและฟื้นฟูที่บ้านแบบต้นทุนต่ำหรือไม่มีต้นทุนใดๆ ที่ไม่มีวิธีใดเทียบได้
เสียงดนตรีผ่อนคลายจิตใจและกล้ามเนื้อของคุณได้อย่างไร
เพลงบำบัดจะนำมาใช้ในระหว่างการทำ MRI เพื่อกระตุ้นส่วนต่างๆ ของสมอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งระบบลิมบิก “เป็นที่ทราบกันดีว่าตำแหน่งนี้เป็นศูนย์กลางทางอารมณ์ของสมอง ซึ่งมีการเชื่อมโยงกับส่วนอื่นๆ ของสมองที่ควบคุมแรงดันโลหิต อัตราการเต้นของหัวใจ และอัตราการหายใจ รวมถึงภาวะทางอารมณ์ของเรา” กล่าวโดยแพทย์หญิง Veena Graff ผู้ช่วยศาสตราจารย์ด้านวิสัญญีวิทยาและการดูแลภาวะวิกฤติที่ University of Pennsylvania หรือง่ายๆ ก็คือ เมื่อเราฟังเพลงบำบัด สมองของคุณจะบอกร่างกายว่าถึงเวลาต้องทำตัวให้สงบแล้ว
ดนตรีทุกประเภทกระตุ้นการหลั่งของสารส่งผ่านประสาท เช่น โดพามีนและเอ็นดอร์ฟีนชนิดอื่นที่สามารถเพิ่มหรือลดระดับความเครียดได้ “นี่เป็นเหตุผลว่าทำไมเพลงบางเพลงทำให้เรารู้สึกนึกถึงความหลัง มีความสุข เศร้าหรือโกรธ ช่วยให้เราสงบหรือทำให้เราเปี่ยมไปด้วยพลัง” Graff อธิบาย เมื่อระดับความเครียดต่ำลง “มนุษย์จะสามารถเข้าสู่สถานะผ่อนคลายอย่างล้ำลึก ที่รู้กันว่าเป็นสถานะการรับรู้ที่ปรับเปลี่ยนไป เหมือนว่าคุณได้ไปอยู่ในที่ที่สวยงาม อบอุ่น และเบลอๆ ตอนคุณกำลังจะเคลิ้มหลับหรือกำลังจะตื่น” Cooper กล่าว การอยู่ในสภาวะนั้นไม่เพียงแต่จะทำให้รู้สึกดีในช่วงเวลานั้นเพียงอย่างเดียว “ยังมีผลดีต่อสุขภาพทุกรูปแบบที่สัมพันธ์กับสภาวะดังกล่าว รวมถึงอารมณ์ในด้านบวกและลดความวิตกกังวล อาการตึงและปวดกล้ามเนื้อ" เธอเสริม
Graff มีงานวิจัยที่พบว่าเพลงบำบัดมีประโยชน์เทียบเท่ากับการทำสมาธิเพื่อลดความวิตกกังวล เธอกล่าวว่า ยิ่งเพลงเพลงหนึ่งมีวิตามินมากเท่าไร ก็ยิ่งทำให้ระดับความเครียดและความเจ็บปวดลดลงเท่านั้น วิตามินที่ดีที่สุดประกอบด้วยจังหวะราวๆ 60 ถึง 80 ครั้งต่อนาที มีเสียงเคาะน้อย ไม่มีเนื้อร้อง และความผันแปรของเสียงนิดหน่อย (ดังนั้นก็อาจจะไม่ใช่วงอินดี้ทั่วไปที่คุณรู้จัก แต่เป็นเพลงสไตล์คลาสสิกและโยคะ) องค์ประกอบทั้งหมดนี้ช่วยให้สมองและร่างกายสลับจากโหมดจะสู้หรือจะหนี มาเป็นโหมดภาวะปกติหรือภาวะผ่อนคลาย
วิตามินทางเสียงบางประเภท เช่น การค่อยๆ ลดความเร็วของเพลงยังส่งผลให้ผู้ฟังมีอัตราการเต้นของหัวใจและ/หรือแรงดันโลหิตต่ำลงได้ในทันที นี่คือผลลัพธ์หนึ่งในผลงานที่ Cooper ค้นพบ “งานนี้ทดลองใน Mindlab ที่ University of Sussex และเห็นตรงกันว่าเป็นการส่งเสริมการผ่อนคลายที่ทรงพลัง ซึ่งมากถึงขนาดที่ว่าเมื่อเปิดทางวิทยุนั้น คนที่ขับรถอยู่ถึงกับอาจจะต้องจอดฟังกันเลยทีเดียว” เธอกล่าว
เราอยู่ในช่วงเริ่มต้นของการทำความเข้าใจถึงประสิทธิภาพของเพลงบำบัดเท่านั้น ผู้เชี่ยวชาญทั้งสองคนกล่าว เมื่อเทคโนโลยี เช่น เครื่องติดตามการออกกำลังกายได้รับการพัฒนายิ่งขึ้น นักวิจัยสามารถวัดสิ่งต่างๆ เช่น อัตราการเต้นของหัวใจและแรงดันโลหิตได้ ขณะที่คุณเปิดท่วงทำนองที่บ่งบอกว่าวิตามินทางเสียงใดๆ ที่ให้ผลลัพธ์ได้ดีที่สุด ดังนั้นจึงสามารถใช้เพลงเพื่อให้เกิดผลบางอย่าง เช่น การนอนหลับ ความสงบ หรือการฟื้นฟูกล้ามเนื้อหลังจากออกกำลังกายได้
เรียนรู้ที่จะฟัง
เพลงเพื่อสุขภาพคือหมวดหมู่ที่กำหนดขึ้นสำหรับแนวเพลงย่อยต่างๆ ที่เป็นเสียงแวดล้อม ผ่อนคลาย คลาสสิก ดาวน์เทมโป และช่วยบำบัดที่มีงานวิจัยสนับสนุน Graff กล่าว ค้นหาแนวเพลงเหล่านี้เมื่อใช้แพลตฟอร์มสตรีมเพลงที่คุณใช้ประจำ และทดลองฟังดูจนกว่าคุณจะพบกับเพลงที่ทำให้คุณเคลิบเคลิ้มและตกอยู่ในภวังค์ หรือลองเคล็ดลับเหล่านี้ถ้าคุณกำลังค้นหาแนวเพลงเฉพาะที่จะทำให้คุณผ่อนคลาย
- การฟื้นฟูหลังจากออกกำลังกาย: “การวิจัยบ่งชี้ว่าเสียงความถี่ต่ำส่งเสริมให้การเกิดการผ่อนคลายของกล้ามเนื้อในระดับที่ลึกขึ้น” Cooper กล่าว ลองฟัง Paua ที่บอกว่าจะช่วยผ่อนคลายความเครียดและอาการตึงกล้ามเนื้อหลังการออกกำลังกายได้ดีมาก
- ผ่อนคลายยามนอน: มองหาเพลงที่ยาว ระดับเสียงต่ำ และมี “เสียงจากสิ่งแวดล้อม” มากกว่า “เสียงดนตรี” ในเพลงที่ไม่มีการดัดแปลงมากเกินไป แนะนำให้ฟังเพลงของ Cooper เอง นอกจากนี้ คุณยังอาจต้องการเพลงที่มีเสียงแหลมและเสียงสูง ผลงานดีๆ สำหรับการฟังยามเย็นของคุณ (ประพันธ์โดย Cooper เอง) ได้แก่ Somnus X ซึ่งเริ่มต้นด้วยเสียงจากสิ่งแวดล้อมแบบกว้างๆ และค่อยๆ เบาลงเป็นเวลากว่า 10 นาที
- การผ่อนคลายความเครียดในทันที: หากคุณเลือกเพลงที่ประกอบด้วยการกำหนดลมหายใจ (ในกรณีนี้ยกเว้นให้มีเนื้อร้องได้) เพลงประเภทนี้สามารถช่วยให้สมองและร่างกายของคุณเปลี่ยนเข้าสู่โหมดพักและย่อยอาหารได้เร็วเป็นสองเท่า การฝึกการหายใจอย่างสมดุลตามแบบของ Cooper เรียกว่า BB1 สามารถช่วยลดความวิตกกังวลได้ในไม่ถึงห้านาที
เคล็ดลับเล็กๆ น้อยๆ: ไม่ว่าคุณจะฟังเมื่อไรและเพราะอะไรก็ตาม “จะดีกว่าเมื่อสวมใส่หูฟังแบบครอบทั้งใบหู เพราะว่าจะฟังเพลงได้ดื่มด่ำมากขึ้น” Cooper กล่าว คุณจะรู้สึกถึงความถี่เสียงเบสย่อยๆ ได้อย่างแท้จริงเมื่อเสียงเคลื่อนผ่านหูฟังเข้าสู่ระบบกล้ามเนื้อและโครงกระดูก เธออธิบาย
และขณะที่คุณได้รับประโยชน์จากเพลงบำบัดทันทีจากการฟังแค่ครั้งเดียว ให้ฟังอย่างน้อยห้านาทีต่อวันและผลดีจะมากขึ้นเรื่อยๆ “การศึกษาของเราพบว่าเพลงบำบัดเป็นผลกระทบแบบสะสม” Cooper กล่าว “ยิ่งคุณฟังเพลงบำบัดมากเท่าไร เหมือนกับที่คุณทำสมาธิหรือฝึกจิตใจ กระบวนการนี้ก็ยิ่งมีประสิทธิภาพมากขึ้น คุณปล่อยให้ตัวเองลงลึกยิ่งขึ้นเพราะว่าสิ่งนี้กลายเป็นสิ่งที่คุ้นเคย” กล่าวคือ ยิ่งคุณคุ้นเคยกับการทำสมาธิแบบเซนที่กระตุ้นด้วย Mozart มากเท่าไร คุณก็จะยิ่งเข้าถึงสมาธิแบบเซนมากขึ้นเท่านั้น
เรียบเรียงโดย Caitlin Carlson
ภาพประกอบโดย Kezia Gabriella
รับประโยชน์ที่มากขึ้น
เข้าแอพ Nike Training Club แล้วดูคำแนะนำที่รับรองโดยผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติมได้เลยทั้งในด้านการฟื้นกำลัง รวมถึงทัศนคติ การเคลื่อนไหว โภชนาการ และการนอนหลับ
รับประโยชน์ที่มากขึ้น
เข้าแอพ Nike Training Club แล้วดูคำแนะนำที่รับรองโดยผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติมได้เลยทั้งในด้านการฟื้นกำลัง รวมถึงทัศนคติ การเคลื่อนไหว โภชนาการ และการนอนหลับ