พอดแคสต์ Trained: มินิซีรีส์สุขภาพจิต: Kayla McBride

การโค้ช

ก่อนจะขึ้นเป็นอันดับที่ 21 ในคอร์ท McBride เป็นที่ 1 ของตัวเองมาก่อน ลองฟังวิธีโฟกัสเรื่องสุขภาพจิตเพื่อพลิกเกมและเปลี่ยนชีวิตกัน

อัพเดทล่าสุด: 26 มกราคม 2565
ใช้เวลาอ่าน 2 นาที
Kayla McBride ผู้เล่น WNBA พูดคุยเกี่ยวกับการจัดลำดับความสำคัญของสุขภาพจิตสำหรับนักกีฬา

Trained คือพอดแคสต์ที่จะพาไปสำรวจความล้ำยุคของฟิตเนสแบบองค์รวม

สำหรับ Kayla McBride แล้ว บาสเก็ตบอลไม่เคยเป็นแค่เกม แต่ยังเป็นที่หลบหนีจากบาดแผลในวัยเด็ก หลบหนีจากการต้องต่อสู้ดิ้นรนกับผลกระทบด้านจิตใจที่ตามมา อย่างไรก็ตาม เมื่อการเล่นกีฬาถูกสั่งห้ามเพราะโรคระบาด ชีวิตของเธอจึงถูกบังคับให้เผชิญหน้ากับผู้หญิงคนนั้นอีกครั้ง ผู้หญิงที่อยู่ใต้ตัวตนนักกีฬาของเธอ ใน Episode สุดท้ายของมินิซีรีส์สุขภาพจิต 3 ตอนจบนี้ WNBA รุ่นเก๋าร่วมกับผู้ดำเนินรายการ Jaclyn Byrer จะพาเราไปดูเส้นทางสู่การรักษาเยียวยาใจ ซึ่งเริ่มด้วยการตัดสินใจเปิดเผยเรื่องราวของเธอออกสู่สาธารณะ โดยเธอพูดอย่างเปิดอกถึงการต่อสู้กับความอ่อนแอภายในจิตใจจนได้ชัยชนะอันหอมหวานมา ชัยชนะที่หมายถึงความผูกพันกับครอบครัวมากขึ้น และหมายถึงความสุขที่ได้จากการเล่นกีฬามากขึ้น นอกจากนี้เธอยังชวนคุยว่า การได้ร่วมวงพูดคุยเรื่องสุขภาพจิตช่วยทำให้คนอื่นๆ รวมถึงตัวเธอเองได้เข้าใจว่าความเป็นนักกีฬามีมากกว่าแค่เบอร์เสื้อหรือผลงานปิดท้ายฤดูกาลอย่างไร มาลองฟังและเรียนรู้ว่าทำไมการลดกำแพงลงและเปิดพื้นที่ให้คนอื่นทำแบบเดียวกันนั้นจะนำไปสู่โลกที่เรื่องสุขภาพจิตเป็นเรื่องที่สำคัญมากขึ้น

“สุขภาพจิตไม่ใช่เกมตัดสินแพ้ชนะ แต่เป็นการเดินทาง”

Kayla McBride
สมาชิกทีม WNBA All-Star 3 สมัยและผู้เล่นของ Minnesota Lynx

หากมีคำถามเกี่ยวกับทัศนคติ การเคลื่อนไหว โภชนาการ การฟื้นกำลัง หรือการนอนหลับ หรือหากมีข้อเสนอแนะในเรื่องแขกรับเชิญหรือหัวข้อสนทนา ก็ส่งอีเมลไปหา Jaclyn ได้เลยที่ trained@nike.com แล้วเธอจะพยายามสรรหามาให้ตรงใจคุณ

เผยแพร่ครั้งแรก: 27 มกราคม 2565

เรื่องราวที่เกี่ยวข้อง

Sloane Stephens คุยเรื่องการหวนกลับมาอีกครั้งหลังจากได้รับบาดเจ็บ

การโค้ช

พอดแคสต์ Trained: สู่การคัมแบคกับ Sloane Stephens

5 เคล็ดลับในการรับมือกับภาวะหมดไฟจากผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิต

การโค้ช

สิ่งที่ต้องทำเมื่อหมดไฟแบบไม่ไหวแล้วจริงๆ

ในการจะบรรลุเป้าหมาย อย่าลืมคำนึงถึงด้วยว่ากระบวนการนั้นคุ้มค่าหรือไม่

การโค้ช

ในการจะบรรลุเป้าหมาย อย่าลืมคำนึงถึงด้วยว่ากระบวนการนั้นคุ้มค่าจริงๆ หรือไม่

เหตุผลและวิธีในการยอมรับความไม่แน่นอน โดยผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยา

การโค้ช

ใช้ความไม่แน่นอนให้เป็นประโยชน์

6 นิสัยในการมีวิธีคิดแบบนักกีฬา

การโค้ช

หนีจากความไม่มั่นใจในตัวเองด้วยวิธีคิดที่ดีกว่า