เส้นทางที่เริ่มต้นจากบรรพบุรุษ: นักกีฬาคริกเกตจากนิวยอร์กคนนี้แสดงความนับถือต่อต้นตระกูลชาวแคริบเบียนของตนอย่างไร

นักกีฬา*

เมื่อ Derick Narine ย้ายถิ่นจากกายอานา มาสู่มหานครนิวยอร์ก คริกเกตที่เขารักและสังคมของกีฬาชนิดนี้ ก็ติดตัวมาด้วย

อัพเดทล่าสุด: 30 เมษายน 2564
Snap Shots: ครอบครัว คริกเก็ต และชุมชนของ Derick Narine

“Snap Shots” คือซีรีส์ที่เข้าไปพูดคุยกับนักกีฬาในละแวกบ้านทั่วโลก

“เก็บภาพเรื่องราว” คือซีรีส์ที่เข้าไปพูดคุยกับนักกีฬาในละแวกบ้านทั่วโลก

ตั้งแต่ 2 มือของเขาจับไม้คริกเกตได้ Derick Narine ก็หลงใหลในกีฬาชนิดนี้มานับแต่นั้น ช่วงวัยรุ่นของ Derick เขาได้กลายเป็นตัวแทนประเทศของกายอานา หลังจากย้ายมาอยู่นิวยอร์กในช่วงเริ่มต้นของชีวิตมัธยมปลาย Derick ได้นำทีมไปคว้าแชมป์ในกีฬาคริกเกตเป็นครั้งแรก แต่ความผูกพันที่เขามีต่อกีฬาชนิดนี้ลึกซึ้งมากกว่าแค่ถ้วยรางวัลหรือเกียรติยศ คริกเกตอยู่ในสายเลือดครอบครัวของ Derick แต่ละครั้งที่เดินลงสนาม เขาจะรู้สึกถึงสายสัมพันธ์ที่ทอดยาวจากบรรพบุรุษผู้ส่งต่อความชอบในการเล่นกีฬาจากรุ่นสู่รุ่น

ที่สนามกีฬาคริกเกต Baisley Pond Park Cricket Pitch จากละแวกจาไมกาของย่านควีนส์นั้น Derick ได้เล่าให้เราฟังถึงเรื่องความแตกต่างทางวัฒนธรรมระหว่างนิวยอร์กและกายอานา รวมถึงเหตุผลที่กีฬาชนิดนี้ยังทำให้ทุกคนมาอยู่รวมกันได้ แม้จะมีเหตุการณ์ต่างๆ มากมายเกิดขึ้นก็ตาม

อะไรทำให้คุณรู้จักคริกเกต

ก็คือ บรรพบุรุษของผมเป็นทาสจากอินเดียที่ถูกพามา [ที่กายอานา] เพื่อทำงานในอุตสาหกรรมน้ำตาล จะบอกว่าประเทศอินเดีย (และประเทศอังกฤษ) คือจุดเริ่มต้นของกีฬาคริกเกต เพราะฉะนั้นใครที่มาจาก 2 ประเทศนี้จะเล่นคริกเกตเป็นอยู่แล้ว หรืออย่างน้อยก็พอมีความรู้บ้าง แล้วพอ [บรรพบุรุษของผม] มาถึงกายอานา เราก็เริ่มส่งต่อกีฬาชนิดนี้มาเรื่อยๆ จากรุ่นสู่รุ่น พอคนในบ้านเห็นว่าเราโตพอจะจับไม้ได้แล้ว ก็จะพาเราไปที่สวนสาธารณะแล้วสอนวิธีเล่นให้ เราจะเริ่มไต่เต้าจากการเป็นตัวแทนหมู่บ้านก่อน แล้วต่อมาจะเริ่มมีการคัดเลือกเพื่อไปเป็นตัวแทนของคนทั้งเขต ผมเล่นคริกเกตแล้วได้รับเลือกให้เป็นตัวแทนของประเทศ ซึ่งในตอนที่เล่นให้กายอานา ผมอายุ 16 ปี

Snap Shots: ครอบครัว คริกเก็ต และชุมชนของ Derick Narine
Snap Shots: ครอบครัว คริกเก็ต และชุมชนของ Derick Narine

คุณย้ายไปอยู่นิวยอร์กเพื่อเรียนชั้นมัธยมปลาย ตอนนั้นรู้สึกยังไงบ้าง

ผมตื่นเต้นมากนะ เพราะจะได้เจอทุกอย่างที่เคยเห็นบนทีวีและตามภาพยนตร์ แต่พอไปถึงที่นั่น ทุกอย่างดูแตกต่างไปหมด โดยเฉพาะการใช้ชีวิตในย่านควีนส์ ตอนแรกนึกว่ามาถึงแล้วจะได้มีบ้าน มีสวนสวยๆ อะไรพวกนี้ แต่ทุกอย่างกลับดูกระจุกตัวกันไปหมด ไม่เหมือนที่ผมจินตนาการไว้เลย

คิดว่าพอไปถึงนิวยอร์กแล้วจะได้เล่นคริกเกตหรือเปล่า

ผมไม่คิดว่าจะได้เล่นเลยนะ เพราะไม่เคยได้ยินเกี่ยวกับคริกเกตเลย [ว่ามีคนเล่นในสหรัฐอเมริกา] พอขึ้นชั้นมัธยมปลาย มีเพื่อนของผมคนหนึ่งที่เคยอยู่บ้านข้างๆ ในกายอานา พอได้เข้าเรียนที่ John Adams High School เพื่อนคนนั้นบอกผมว่าโรงเรียนมีทีมคริกเกตด้วย ผมเลยลองสมัครเข้าทีมซึ่งพอผ่านไป 1 เทอม โค้ชก็แต่งตั้ง [ให้ผม] เป็นกัปตันทีม เราลงแข่งและได้แชมป์มา [ซึ่งถือเป็น] ครั้งแรกเลยที่ John Adams ชนะและได้เป็นแชมป์

Snap Shots: ครอบครัว คริกเก็ต และชุมชนของ Derick Narine

บรรยากาศที่นี่เป็นอย่างไรบ้าง มีใครในควีนส์คุยข่มกันตอนแข่งไหม

ขึ้นอยู่กับทีมที่แข่งด้วยกันนะ ถ้าได้เล่นกับคนอินเดีย คนกลุ่มนี้จะไม่ค่อยพูดอะไรเยอะ เพราะถึงจะพูดอะไรมา ก็ไม่รู้เรื่อง... คนรุ่นปู่ทวดผมมาจากอินเดีย แต่ผมไม่ได้พูดภาษานี้ ก็จะไม่เข้าใจอยู่ดีว่าที่พูดมาแปลว่าอะไร ส่วนถ้าได้เล่นกับคนจาไมกา พวกนี้จะพ่นคำหยาบคายใส่ คือมีอะไรก็พูดออกมาหมด แต่จะพูดโดยไม่ให้กรรมการได้ยินนะ เพราะถ้าได้ยินจะถูกลงโทษ ซึ่งเราก็ไม่ได้คิดมากเพราะก็พูดใส่พวกนั้นกลับได้อยู่แล้ว แต่ก็มี [บางครั้ง] ที่รู้สึกเจ็บเหมือนกัน เพราะเวลาต้องทำหน้าที่เป็นแนวรับ เราจะพยายามกันลูกไว้เพื่อให้เพื่อนในทีมได้มีโอกาสทำเกม

สภาพของสนามคริกเกตในนิวยอร์กเป็นอย่างไรบ้าง

เราไปเล่นมาหมดแล้ว สนามที่แย่ที่สุดอยู่ในสวน Kissena [ละแวกฟลัชชิงก์ ย่านควีนส์] ด้านหลังจุดที่เราเล่นมีหลุมมีบ่ออยู่เต็มไปหมด แล้วแถวนั้นยังมีหนองน้ำขนาดใหญ่ด้วย ถ้าผู้รักษาวิกเกตรับลูกพลาด บอลก็จะกระเด็นตกน้ำไป เราก็จะต้องไปหาไม้มาเขี่ยเพื่อเก็บบอล ซึ่งตอนนั้นลูกบอลคือทั้งเปียกและพองไปเรียบร้อยแล้ว

“แม้จะมีเหตุการณ์ต่างๆ เกิดขึ้น แต่ [ทุกคน] ก็ยังเล่นคริกเกตกันอยู่ ทุกคนยังมารวมตัวกันเหมือนเดิม”

สังคมของคนเล่นคริกเกตเป็นอย่างไรบ้าง

พอแข่งกันเสร็จ ทีม [ฝั่งตรงข้าม] จะเดินมาหาแล้วแสดงความยินดีกับเรา พวกนั้นจะพูดประมาณว่า “ไงพวก เล่นเก่งเหมือนกันนะ ขอ Facebook หน่อยสิ ขอ Instragram ด้วย อยากคุยด้วยนิดนึงอ่ะ คือเวลาทำแบบนั้นหรือแบบนี้ มันต้องเล่นยังไง” แล้วตอนได้ลงงานแข่งใหญ่ๆ ทุกคนจะออกมาเพื่อส่งกำลังใจให้ คริกเกตทำให้คนมากมายมาอยู่รวมกันได้ แม้จะมีเหตุการณ์ต่างๆ เกิดขึ้น แต่ [ทุกคน] ก็ยังเล่นคริกเกตกันอยู่

เรียบเรียงโดย Sam Hockley-Smith

รายงานเมื่อ: กันยายน 2020

เผยแพร่ครั้งแรก: 26 เมษายน 2564

เรื่องราวที่เกี่ยวข้อง

Florine Kouessan นักฟุตบอลชาวฝรั่งเศสและ Witch FC สโมสรของเธอ

นักกีฬา*

ศาสตร์แห่งแม่มด: นักฟุตบอลผู้สร้างแรงกระเพื่อมในสโมสรที่ช่างครีเอทที่สุดในกรุงปารีส

Alan Landeros นักฟุตบอลของเม็กซิโกซิตี้ขัดเกลาทักษะของเขาจนสมบูรณ์แบบ

นักกีฬา*

ศิลปะการแสดง: วิธีที่นักฟุตบอลแห่งเม็กซิโกซิตี้คนนี้ขัดเกลาทักษะของเขาจนสมบูรณ์แบบ

พบกับ Lamine Conté ผู้สร้างภาพยนตร์คนใหม่ล่าสุดของสตรีทบอลในปารีส

นักกีฬา*

บันทึกภาพจากคอร์ทริมถนน: พบกับผู้กำกับสตรีทบอลหน้าใหม่แห่งปารีส

Snap Shots: อะดรีนาลีนพลุ่งพล่านไปกับ Leonora Manzano

นักกีฬา*

ไล่ตามหาอะดรีนาลีน: Leonora Manzano ใช้ชีวิตอย่างโลดโผน ก่อนจะมาพบกับการวิ่ง

María Pruijn นักรักบี้ชาวเม็กซิโกท้าทายความคาดหวัง

นักกีฬา*

พุ่งปะทะคติเหมารวม: นักรักบี้เม็กซิกันผู้ท้าชนกับความคิดแบบเดิมๆ