กลยุทธ์การกินแบบยืดหยุ่นที่จะช่วยให้คุณกลับมาเพลินกับอาหารได้อีกครั้ง

การโค้ช

ลืม “กฎ” การทานอาหารที่ต้องทำตามแบบเป๊ะๆ ไปได้เลย แล้วหันมาเรียนรู้วิธีการกลับมาฟังสัญญาณธรรมชาติจากร่างกายกัน

อัพเดทล่าสุด: 30 มิถุนายน 2565
ใช้เวลาอ่าน 5 นาที
  • การกินตามสัญชาตญาณเป็นกระแสที่กำลังได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ เป็นวิถีการกินที่ทำให้เราไม่ต้องคิดมากจนเกินไปว่าจะกินอะไร กินเมื่อไหร่ และกินเยอะแค่ไหน สบายใจได้เลย
  • เมื่อตั้งใจฟังสัญญาณจากร่างกายและมีสติรู้ตัว เราก็จะรู้ได้ว่าสิ่งใดจะทำให้เราพึงพอใจ
  • เตรียมตัวให้พร้อมไปกับสูตรอาหารง่ายๆ ใน NTC มากมายที่จะทำให้คุณกินได้อย่างอิ่มเอม
  • เมื่อได้เรียนรู้วิธีการหันมาฟังสัญญาณจากร่างกายแล้ว ก็ปรับแผนการกินให้ดีขึ้นด้วยคำแนะนำอีกเพียบจากผู้เชี่ยวชาญด้านโภชนาการได้เลย

อ่านต่อเพื่อเรียนรู้เพิ่มเติม…

เพลิดเพลินกับอาหารด้วยการกินตามสัญชาตญาณ

ลองนึกภาพว่าคุณยืดหยุ่นได้สุดๆ กับการกินอาหาร สามารถกินอะไรก็ได้ เมื่อไรก็ได้ และรู้สึกดีกับการกินดูสิ นั่นคือหลักการพื้นฐานของการกินตามสัญชาตญาณ

Christy Harrison กล่าวว่า “ผู้ที่กินตามสัญชาตญาณคือผู้ที่เชื่อและให้ความสำคัญกับความรู้สึกหิวของตน และไม่รู้สึกผิดกับอาหารที่เลือกกิน ทั้งยังสามารถจัดลำดับความสำคัญและค้นพบความสุขจากการกินได้” เธอคือนักโภชนาการวิชาชีพแนวแอนตี้ไดเอท (Anti-Diet Registered Dietitian) ซึ่งเป็นแนวหน้าของการเคลื่อนไหวด้านการทานอาหารประเภทนี้ และเป็นผู้เขียนหนังสือ Anti-Diet: Reclaim Your Time, Money, Well-Being, and Happiness Through Intuitive Eating (แอนตี้ไดเอท: เรียกคืนเวลา เงินทอง สุขภาวะ และความสุขกลับคืนมาด้วยการกินตามสัญชาตญาณ)

โดยหลักการแล้ว ผู้ที่กินตามสัญชาตญาณจะยอมให้ตัวเองกินอะไรก็ได้ เมื่อใดก็ได้ และเท่าไรก็ได้ตามที่ต้องการโดยไม่มีเงื่อนไขใดๆ

Harrison ยังกล่าวด้วยว่า ถ้าหลักการนี้ฟังดูไม่เข้าท่า (หรือเกินจริง) สำหรับคุณ ให้ลองนึกถึงหนึ่งในความสามารถอันเก่าแก่ที่คุณมี เช่นการนั่งย่อตามหลัก หรือการหายใจเข้าลึกๆ ด้วยท้อง การกินตามสัญชาตญาณเองก็เป็นสิ่งที่คุณทำมาตั้งแต่เกิด เธอยังเสริมอีกด้วยว่า “คุณจะเห็นว่าเด็กทารกพร้อมรับสารอาหารหลากหลาย และปฏิเสธอาหารเมื่ออิ่มท้องแล้ว”

แนวโน้มพฤติกรรมตามธรรมชาตินี้เริ่มเลือนหายไปโดยสิ่งที่ Harrison เรียกว่า “วัฒนธรรมการไดเอท” หรือสารที่คอยสื่อออกมาอยู่เสมอว่าเราควรหรือไม่ควรทานอะไร

“วัฒนธรรมการไดเอทบูชาความผอม ยกย่องความผอมให้เป็นศีลธรรมทางสุขภาพและทางจิตใจ” เธอกล่าว “เป็นการสรรเสริญการลดน้ำหนัก รวมถึงเชิดชูอาหารบางอย่าง กล่าวโทษอาหารที่เหลือ และเหยียดผู้ที่ไม่ตรงกับนิยามของการมีสุขภาพดีแบบนี้ โดยเฉพาะผู้ที่มีโครงร่างใหญ่”

เพลิดเพลินกับอาหารด้วยการกินตามสัญชาตญาณ

Harrison กล่าวว่า วัฒนธรรมการไอเดทเป็นมากกว่ากฎการลดน้ำหนักตามกระแส และแทรกซึมเข้ามาในภาษาที่เราใช้อธิบายการกินอาหารที่มีประโยชน์ได้ “คำแนะนำในการ ‘กินคลีน’ หรือหลีกเลี่ยง ‘อาหารแปรรูป’ อาจฟังดูเข้าที แต่ถ้อยคำดังกล่าวก็นับเป็นการแฝงวัฒนธรรมการไดเอทเอาไว้”

การปฏิบัติตามกฎที่ไม่มีความยืดหยุ่นเหล่านี้พรากเอาความสุขจากการกินออกจากบางคนไป และสร้างปัญหาหลายอย่างให้กับบางคนได้เหมือนกัน ซึ่งรวมไปถึงปัญหาเรื่องการกินตามอารมณ์และความคลั่งไคล้ในอาหารเพื่อสุขภาพ “คุณจะสงสัยอยู่ทุกครั้งว่าอาหารนี้ ‘คลีน’ พอหรือยัง เป็นอาหาร ‘ตามธรรมชาติ’ พอไหม” Harrison กล่าว “แนวคิดแบบนี้ทำให้หงุดหงิดและเหนื่อยล้าทางใจได้ และในท้ายที่สุดก็ทำให้คนรู้สึกแย่กับตัวเองเวลาที่ทำอย่าง ‘ถูกหลัก’ ไม่ได้”

มีงานวิจัยที่สนับสนุนมุมมองของเธอ โดยแสดงให้เห็นว่าการไดเอทและการจำกัดประเภทอาหารนั้นดูจะนำไปสู่น้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้น (ในรีวิวงานวิจัยเด่นปี 2007 จาก UCLA กลุ่มนักวิจัยได้เปรียบเทียบงานวิจัยระยะยาว 31 ชิ้นที่ศึกษาเรื่องการทานอาหารประเภทต่างๆ และพบว่า ไม่ว่าจะใช้วิธีแบบไหน ผู้คนส่วนใหญ่ที่ลดน้ำหนักได้จะมีน้ำหนักตัวเด้งกลับมาเท่าเดิมหรือมากกว่าเดิม รวมถึงไม่เห็นประโยชน์ต่อสุขภาพเลยด้วย) Harrison อธิบายถึงสาเหตุว่าเป็นเพราะเราจำกัดอาหารบางประเภท ก็เลยทำให้รู้สึกอยากและนึกถึงอาหารประเภทนั้นยิ่งกว่าเดิมอย่างเลี่ยงไม่ได้ และเมื่อเราปฏิบัติตาม “กฎ” ไม่ได้ เราก็จะยิ่งกินไม่ยั้งเพื่อเติมเต็มทั้งร่างกายและจิตใจ

ในขณะที่การกินตามสัญชาตญาณจะไม่สนใจกฎใดๆ และให้คุณเป็นคนตัดสินใจเองได้ทุกอย่าง

เริ่มจากการสังเกตว่าคุณอยากกินหรือไม่และอยากกินอะไร เมื่อกำลังกิน ก็ให้หยุดกินเมื่อรู้สึกพึงพอใจแล้ว และพอหลังจากกินเสร็จ ก็ให้ถามตัวเองว่ามีอะไรจะช่วยเติมเต็มมื้อนี้ได้มากขึ้นอีกไหม Harrison กล่าว คุณอาจได้เรียนรู้ว่าการกินขนมกรุบกรอบเป็นมื้อกลางวันแทนการกินแซนด์วิชจะทำให้ท้องหิวอีกหลังผ่านไปสักชั่วโมงหนึ่ง หรืออาจทำให้รู้ว่าการกินขนมกรุบกรอบทำให้คุณเลิกอยากอาหารรสเค็ม และหยุดคุณจากการกินอาหารมื้อต่อไปหรือกินขนมไม่ยั้งจนคุมไม่อยู่

บางที พอมาถึงจุดนี้ คุณอาจจะเริ่มคิดว่า มีแค่ขนมกรุบกรอบกับเค้กที่จะทำให้ฉันพอใจได้ Harrison รู้ว่าคนส่วนใหญ่จะต้องก้าวผ่านช่วงเวลาแสนหอมหวานที่กินได้ทุกอย่างในตอนแรก “คุณอาจจะมุ่งไปยังอาหารที่เคยห้ามตัวเองไม่ให้กิน เพราะเคยมองว่าเป็น ‘อาหารที่ไม่ดี’ มาตลอด” เธอกล่าว “แม้ว่าความอยากอาหาร ‘ต้องห้าม’ ในอดีตจะไม่หายไปไหน แต่คุณก็จะเริ่มอยากอาหารประเภทอื่นร่วมด้วย ซึ่งจะช่วยปรับให้สมดุล” บางครั้งคุณก็จะยังอยากขนมกรุบกรอบและเค้กอยู่ แต่บางทีก็จะเป็นผักและผลไม้

เธอกล่าวว่า ความสมดุลที่ว่าคือสิ่งที่ดีต่อสุขภาพ โดยเฉพาะเมื่อคุณสามารถเลือกรับสารอาหารในปริมาณที่ร่างกายต้องการได้ไม่ต่างกับสมัยวัยแบเบาะ และยังคงเพลิดเพลินไปกับการกินด้วย นี่แหละคือสิ่งที่เราเรียกว่าพัฒนาการ

เรียบเรียงโดย Marissa Stephenson
ภาพประกอบโดย Gracia Lam

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

ตอนนี้คุณได้รู้วิธีการหันมาฟังสัญญาณจากร่างกายแล้ว ก็ปรับแผนการกินให้ดีขึ้นด้วยคำแนะนำอีกเพียบจากผู้เชี่ยวชาญด้านโภชนาการชั้นนำได้เลยที่ Nike.com

เผยแพร่ครั้งแรก: 14 มีนาคม 2565

เรื่องราวที่เกี่ยวข้อง

โยคะถือเป็นการเทรนนิ่งฝึกความแข็งแรงหรือไม่

การโค้ช

การฝึกโยคะเพียงพอที่จะรักษาความแข็งแรงหรือไม่

ปรับเปลี่ยนจิตใจ 3 ประการเพื่อก้าวผ่านระยะหยุดนิ่งของการออกกำลังกาย

การโค้ช

3 วิธีปรับแนวคิดเพื่อเพิ่มพลังให้ตัวเองก้าวผ่านจุดอิ่มตัว

เคล็ดลับ 5 ข้อในการเทรนนิ่งสร้างความแข็งแรงอย่างชาญฉลาด

การโค้ช

เคล็ดลับ 5 ข้อในการฝึกความแข็งแรงอย่างชาญฉลาด

5 เคล็ดลับในการค้นหาสถานะโฟลว์ของคุณ โดยอ้างอิงจากผู้เชี่ยวชาญ

การโค้ช

ค้นพบโฟลว์ของคุณ แล้วรักษาเอาไว้

วิธีง่ายๆ เพื่อหยุดการกินเพราะความเครียด

การโค้ช

การกินตามอารมณ์คืออะไร แล้วจะหยุดได้อย่างไร