การเลือกรองเท้าวิ่งที่เหมาะกับเท้าที่บิดเข้าด้านใน

คู่มือการซื้อ

การบิดเท้าเข้าด้านในคือประเภทของการลงเท้าที่ทำให้เท้าของคุณเอนออกด้านนอก แต่การใส่รองเท้าวิ่งที่เหมาะสมจะช่วยป้องกันความเจ็บปวดและการบาดเจ็บได้

อัพเดทล่าสุด: 8 มกราคม 2565
ใช้เวลาอ่าน 7 นาที
การเลือกรองเท้าวิ่งที่เหมาะสำหรับลดการบิดเท้าเข้าด้านใน

การวิ่งอาจเป็นเรื่องง่ายเพียงแค่ก้าวเท้าข้างหนึ่งออกไปด้านหน้าของอีกข้าง แต่รูปแบบการลงพื้นของเท้าคุณอาจทำให้คุณวิ่งได้อย่างยากลำบาก

เมื่อคุณวิ่งโดยปกติ น้ำหนักของคุณจะกระจายไปเท่าๆ กัน และเท้าของคุณลงพื้นด้วยส่วนกลางเท้า นี่เรียกว่าการบิดของเท้าแบบปกติ และเนื่องจากข้อเท้าและขาอยู่ในแนวเดียวกันอย่างเหมาะสม คุณก็มีโอกาสบาดเจ็บน้อยลง นอกจากนี้ คุณจะมีการดูดซับแรงกระแทกที่ดีขึ้นเมื่อเท้าสัมผัสกับพื้นเพราะว่าน้ำหนักของคุณกระจายเท่ากัน

แต่ทั้งการบิดเท้าเข้าด้านในและการบิดของเท้าทำให้การก้าวของคุณผิดพลาดและสูญเสียการทรงตัวได้

  • การบิดของเท้า (ในทางเทคนิคแล้วคือเท้าล้มเข้าด้านใน) หมายถึงการที่เท้าของคุณเอนเข้าด้านในมากเกินไป ทำให้น้ำหนักกระจายไปที่เท้าและอุ้งเท้าด้านในมากขึ้น

  • การบิดเท้าเข้าด้านใน (หรือเท้าล้มออกด้านนอก) ทำให้เท้าของคุณเอียงออกด้านนอก ส่งผลให้เกิดการกระจายน้ำหนักไปที่แนวด้านนอกของเท้าและข้อเท้า การลงเท้าลักษณะนี้อาจนำไปสู่การบาดเจ็บที่ข้อเท้า โรครองช้ำ กล้ามเนื้อหน้าแข้งอักเสบ อาการเคล็ด และเอ็นต้นขาด้านข้างอักเสบ

การบิดเท้าเข้าด้านในเกิดขึ้นจากหลายสาเหตุที่มีความซับซ้อน คุณอาจมีโครงสร้างเท้าตามกรรมพันธุ์ที่ทำให้เท้าล้มออกด้านนอก สาเหตุนี้อาจรวมถึงการมีอุ้งเท้าสูงตามธรรมชาติหรือมีหลังเท้าที่ไม่ยืดหยุ่น สาเหตุทั่วไปอีกประการของการบิดเท้าเข้าด้านในคือการใช้งานมากเกินไป การบาดเจ็บ หรือความไม่สมดุลของกล้ามเนื้อในเท้า ข้อเท้า หรือขา

หากอาการเหล่านี้ตรงกับตัวคุณ วิธีที่มีประสิทธิภาพที่สุดในการแก้ปัญหาเท้าบิดเข้าด้านในมากเกินไปคือการสวมรองเท้าที่เหมาะสม รองเท้าที่ดีที่สุดในการแก้ไขเท้าบิดเข้าด้านในมีระบบลดแรงกระแทกมากเป็นพิเศษ มีการรองรับความโค้งของรูปเท้าที่ดี และมีกรอบปลายเท้ากว้าง ซึ่งช่วยรองรับเท้า เสริมการบิดของเท้าที่มากขึ้น และดูดซับแรงกระแทก

สิ่งที่ต้องมองหาในรองเท้าวิ่งสำหรับเท้าที่บิดเข้าด้านใน

  1. 1.ใส่สบาย

    ความสบายอาจฟังดูเป็นเรื่องสำคัญ แต่การได้รองเท้าในไซส์ที่ถูกต้องที่พอดีทั้งความยาวและความกว้าง ก็ถือเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างยิ่งยวดสำหรับการบิดของเท้าอีกด้วย หากรองเท้าวิ่งมีขนาดเล็กหรือใหญ่เกินไป (หรือแคบหรือกว้างเกินไป) ก็จะส่งผลให้เท้าบิดเข้าด้านในจนกลายเป็นปกติ
  2. 2.ลดแรงกระแทกเป็นพิเศษ

    อุ้งเท้าที่สูงของคุณไม่ได้ดูดซับแรงกระแทกของพื้น ดังนั้นจึงเป็นเรื่องสำคัญที่คุณต้องเลือกรองเท้าวิ่งที่ลดแรงกระแทกเป็นพิเศษ เนื่องจากนักวิ่งที่เท้าบิดเข้าด้านในลงพื้นโดยไล่จากส้นไปที่ปลายเท้า ให้มองหารองเท้าวิ่งที่มีระบบลดแรงกระแทกเสริมเป็นพิเศษที่ส้นเท้าเพื่อช่วยปรับย่างก้าวให้ดีขึ้นและปกป้องส้นเท้าจากแรงกระแทก

    แต่คุณอาจไม่อยากโดนถ่วงน้ำหนักจากระบบลดแรงกระแทกที่มากเกินไป ซึ่งอาจส่งแรงกลับให้กับก้าวต่อไปของคุณได้ไม่มาก ด้วยเหตุนี้ ให้มองหารองเท้าวิ่งที่มีเทคโนโลยีโฟม Nike React เราได้สร้างโฟมที่ดีที่สุดสำหรับทั้ง 2 ด้านเมื่อเน้นเรื่องการลดแรงกระแทก และเหมาะเป็นอย่างยิ่งสำหรับนักวิ่งที่เท้าบิดเข้าด้านใน โฟมรุ่นนี้นุ่มและสปริงตัวได้ดี ทั้งยังมีความนิ่มและอยู่ตัว ข้อดีของโฟมชนิดนี้คือการดูดซับแรงกระแทกของพื้นพร้อมทั้งส่งแรงกลับได้อย่างน่าประทับใจ

  3. 3.กรอบปลายเท้ากว้าง

    เท้าและปลายเท้าที่บิดเข้าด้านในของคุณต้องการพื้นที่เพื่อขยับขยายในทุกย่างก้าว ปลายเท้าที่แคบจะจำกัดการเคลื่อนที่ของเท้าและจะทำให้เกิดการบาดเจ็บที่มีสาเหตุจากเท้าที่บิดเข้าด้านในในอนาคต การให้ความสำคัญกับรองเท้าที่มีกรอบปลายเท้ากว้างเหนือสิ่งอื่นใดจึงเป็นเรื่องสำคัญ

    การมีพื้นที่ว่างมากขึ้นที่ปลายเท้ายังช่วยป้องกันโรครองช้ำ ซึ่งเป็นสภาวะทั่วไปที่เกิดขึ้นกับคนที่เท้ามีอาการบิดเข้าด้านใน

  4. 4.รองรับความโค้งของรูปเท้า

    สำหรับคนที่มีอุ้งเท้าสูงตามธรรมชาติ ให้เลือกรองเท้าที่ให้การรองรับที่ส่วนกลางเท้าเพื่อชดเชยการที่เท้าล้มออกด้านนอก แต่ที่จริงแล้ว การสวมรองเท้าที่ไม่มีการรองรับความโค้งของรูปเท้าสามารถทำให้เกิดอาการเท้าบิดเข้าด้านในได้อย่างแท้จริง

    ให้เลือกใช้รองเท้าวิ่งที่มีระบบลดแรงกระแทกพิเศษและเสริมการทรงตัวในส่วนกลางเท้า และมองหารองเท้าวิ่งที่ใช้โฟม Nike ZoomX เพราะโฟมมีทรงแบบคานโค้ง ให้การรองรับการก้าวย่างของนักวิ่งทั้ง 3 ระยะ โฟมชนิดนี้ให้ความยืดหยุ่นเมื่อยกเท้าขึ้นจากพื้น ให้ย่างก้าวที่ลื่นไหลเมื่อเท้าเริ่มก้าวไปข้างหน้า และช่วยลดแรงกระแทกเมื่อเท้าสัมผัสกับพื้น การรองรับความโค้งของรูปเท้าที่กลางเท้าสามารถลดผลกระทบที่เกิดจากการมีอุ้งเท้าสูง และช่วยให้ก้าวเท้าได้อย่างเป็นธรรมชาติมากยิ่งขึ้น

    โฟม Nike ZoomX ให้การดูดซับแรงกระแทก ความสบาย และความทนทานต่อการสึกที่ขอบนอก ซึ่งเป็นตำแหน่งที่เป็นปัญหาทั่วไปสำหรับนักวิ่งที่เท้าบิดเข้าด้านใน

  5. 5.การรองรับรอบข้อเท้าและการทรงตัว

    การบิดเท้าเข้าด้านในสามารถส่งแรงกดที่มากเกินไปต่อเอ็นฝ่าเท้า ซึ่งทำให้เกิดโรครองช้ำ ให้เลือกรองเท้าวิ่งที่ให้ความมั่นคงและการรองรับเป็นพิเศษเพื่อป้องกันปัญหานี้และการบาดเจ็บข้อเท้าชนิดอื่นๆ

    Nike Flyknit เสริมความมั่นคงให้กับรองเท้าวิ่งของคุณ เทคโนโลยีระดับปฏิวัติวงการนี้ใช้เส้นใยที่มีความแข็งแรงสูง เพื่อสร้างส่วนบนน้ำหนักเบา พร้อมบริเวณที่ให้การรองรับ ยืดหยุ่น และระบายอากาศอย่างตรงจุด เกลียวเส้นด้ายน้ำหนักเบาที่ทอออกมาเป็นส่วนบนแบบชิ้นเดียว ช่วยให้เท้าของนักกีฬากระชับเข้ากับพื้นรองเท้า เส้นด้ายเหล่านี้ช่วยให้ใส่กระชับเหมือนถุงเท้า และทำหน้าที่เหมือนเป็นสายเคเบิลบนสะพานเพื่อลดการสั่นสะเทือน แต่ยังให้เท้าเคลื่อนไหวได้อย่างอิสระ

  6. 6.สัมผัสปกติ

    นักวิ่งที่เท้าบิดเข้าด้านในต้องการรองเท้าวิ่งที่ให้สัมผัสแบบปกติ อุ้งเท้าที่สูงตามธรรมชาติของคุณอาจทำให้คุณไม่รู้สึกถึงพื้นเมื่อคุณวิ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อคุณไม่ได้สวมรองเท้าที่มีระบบลดแรงกระแทกที่ตอบสนองได้ดี

    Nike Zoom Air คือระบบลดแรงกระแทกแบบพื้นกว้างบางและตอบสนองได้ดีที่นักกีฬาสัมผัสได้ โดยแต่ละครั้งที่เท้านักกีฬาแตะพื้น เส้นใยยืดได้จะบีบอัดตัวเพื่อลดแรงกระแทก ก่อนที่จะดีดตัวกลับสู่รูปทรงเดิมอย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดการระเบิดพลังตอบสนองจากพื้นอย่างเต็มเปี่ยม

รองเท้าวิ่งของ Nike ที่ดีที่สุดสำหรับเท้าที่บิดเข้าด้านใน

หากคุณมีแนวโน้มที่เท้าบิดเข้าด้านในขณะวิ่ง ให้ลองรองเท้าวิ่งที่ให้สัมผัสแบบปกติที่มาพร้อมระบบลดแรงกระแทกตอบสนองได้ดี และดูดซับแรงกระแทกเพื่อเพิ่มความสบายขณะวิ่งและช่วยลดโอกาสเกิดการบาดเจ็บจากแรงกด รองเท้าวิ่งยอดนิยมบางรุ่นที่ให้สัมผัสแบบปกติสำหรับนักวิ่งที่เท้าบิดเข้าด้านในได้แก่

การเลือกรองเท้าวิ่งที่เหมาะสำหรับลดการบิดเท้าเข้าด้านใน

จะบอกได้อย่างไรว่าเท้าของคุณบิดเข้าด้านใน

  1. 1.ตรวจสอบย่างก้าวของคุณ

    วิธีที่ดีที่สุดที่จะบอกว่าเท้าของคุณบิดเข้าด้านในหรือไม่คือการตรวจสอบย่างก้าวของคุณ คุณสามารถตรวจการบิดของเท้าได้โดยการให้นักบำบัดโรคเท้า นักกายภาพบำบัด หรือแม้แต่พนักงานขายที่ร้านรองเท้าวิ่งทำการวิเคราะห์ลักษณะการก้าว

    หากคุณไปหานักบำบัดโรคเท้าไม่ได้ คุณสามารถลองตรวจสอบย่างก้าวของตัวเองโดยการอัดวิดีโอตอนที่คุณเดินหรือวิ่ง หากสังเกตว่าเท้าของคุณเอนออกด้านนอกเมื่อคุณวิ่ง ก็เป็นสัญญาณว่าเท้าของคุณบิดเข้าด้านใน

  2. 2.ดูรองเท้าของคุณ

    ดูรองเท้าวิ่งคู่โปรดของคุณ พื้นรองเท้าด้านหนึ่งสึกมากกว่าอีกด้านหรือไม่ หากรองเท้าของคุณมีการสึกที่ขอบนอกของรองเท้า ก็เป็นสัญญาณว่าเท้าของคุณบิดเข้าด้านใน โดยหากเท้าของคุณบิดแบบปกติ รองเท้าจะมีร่องรอยการสึกทั่วทั้งพื้นรองเท้า
  3. 3.การทดสอบแบบเปียก

    เมื่อเท้าเปียก ให้ยืนบนพื้นผิวที่คุณจะเห็นรอยเท้าของคุณเอง คุณสามารถลองยืนบนคอนกรีต ถุงกระดาษ หรือกระดาษก็ได้ หากอุ้งเท้าของคุณทิ้งรอยเท้าไว้เพียงเล็กน้อย ก็เป็นสัญญาณว่าอุ้งเท้าสูงของคุณเป็นสาเหตุของการบิดเข้าด้านในของเท้า

วิธีแก้ไขอาการเท้าบิดเข้าด้านในขณะวิ่ง

  1. 1.ฝึกซ้อมฟอร์มการวิ่งที่เหมาะสม

    การฝึกฟอร์มการวิ่งที่ถูกต้องเป็นสิ่งสำคัญหากคุณต้องการแก้ปัญหาเท้าบิดเข้าด้านใน คุณอาจไม่ทันสังเกตเห็นว่าคุณมีแนวโน้มที่ใช้ฝ่าเท้าด้านนอกของคุณลงพื้นเนื่องจากคุณมีอุ้งเท้าสูงตามธรรมชาติ ให้ลองตั้งใจลงพื้นโดยใช้เนินปลายเท้าในแต่ละก้าว เพื่อให้เกิดการถ่ายเทน้ำหนักจากส้นสู่ปลายเท้าได้อย่างนุ่มนวล คุณอาจรู้สึกแปลกๆ ในช่วงแรก แต่หลังจากพยายามวิ่งด้วยท่านี้อย่างแน่วแน่แล้ว คุณจะรู้สึกเป็นธรรมชาติมากขึ้น

    หากคุณมีอาการเท้าบิดเข้าด้านในขั้นรุนแรง การออกกำลังกายและยืดเหยียดบางท่าสามารถช่วยปรับลักษณะการก้าวให้ดีขึ้นได้ การปรับท่านี้สามารถทำร่วมกับนักกายภาพบำบัดหรือคนเดียวก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความร้ายแรงของปัญหา

    ตัวอย่างของการออกกำลังกายเหล่านี้อาจรวมถึงการยืดเอ็นร้อยหวาย

    • ยืนตัวตรงโดยแยกเท้าให้ห่างเท่ากับความกว้างของสะโพก
    • ยกปลายเท้าหนึ่งข้างขึ้นโดยให้ส้นเท้าแตะกับพื้น และนิ้วเท้าชี้ขึ้น
    • งอขาอีกข้างเพื่อยืดมากยิ่งขึ้น
    • คุณควรรู้สึกตึงที่บริเวณเอ็นร้อยหวายและน่อง

    เท้าที่บิดเข้าด้านในมักจะทำให้ตึงที่บริเวณเอ็นร้อยหวายและน่อง ดังนั้นการทำท่านี้จะช่วยแก้ปัญหาเท้าบิดเข้าด้านใน

  2. 2.สวมปลอกข้อเท้า

    การสวมปลอกข้อเท้าสามารถลดความเลี่ยงของอาการบาดเจ็บข้อเท้าได้ ซึ่งเป็นอาการทั่วไปของนักวิ่งที่เท้าบิดเข้าด้านใน ปลอกข้อเท้าให้การรองรับข้อเท้าและลดการบวมและอักเสบได้ นอกจากนี้ นักบำบัดโรคเท้ายังแนะนำให้ใช้แผ่นรองเท้าในกรณีที่มีอาการรุนแรงอีกด้วย
  3. 3.ดูรอยสึกบนรองเท้า

    สิ่งที่ควรปฏิบัติทั่วไปคือการเปลี่ยนรองเท้าวิ่งทุก 6 เดือน หรือเมื่อคุณเห็นว่ามีร่องรอยการสึกบนพื้นรองเท้า เมื่อพื้นรองเท้าเริ่มสึก รองเท้าจะไม่ให้การรองรับที่คุณต้องการ และจะทำให้อาการบิดเข้าด้านในของเท้าเลวร้ายยิ่งขึ้น

เผยแพร่ครั้งแรก: 21 ตุลาคม 2564

เรื่องราวที่เกี่ยวข้อง

วิธีค้นหารองเท้าที่เหมาะกับหน้าเท้ากว้างมากที่สุด

คู่มือการซื้อ

วิธีค้นหารองเท้าที่เหมาะกับหน้าเท้ากว้าง

วิธีค้นหารองเท้าที่เหมาะสำหรับหน้าฝน

คู่มือการซื้อ

รองเท้าที่ดีที่สุดสำหรับสภาพอากาศที่ฝนตกคืออะไร

รองเท้าแบบไหนเหมาะสำหรับลดการบิดเท้าออกด้านนอก

คู่มือการซื้อ

รองเท้าที่เหมาะกับการบิดเท้าออกด้านนอก (Overpronation) ที่สุดคืออะไร

รองเท้าที่เหมาะสำหรับการวิ่งทางไกล

คู่มือการซื้อ

รองเท้าแบบไหนดีที่สุดสำหรับการวิ่งระยะไกล

อุปกรณ์กีฬาที่ดีที่สุดสำหรับการวิ่งท่ามกลางสายฝน

คู่มือการซื้อ

อุปกรณ์วิ่งกันน้ำสำหรับการวิ่งในวันฝนตก